วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 3 วันที่ 23 มกราคม 2561


สัปดาห์ที่ 3 ของการเปิดภาคเรียนแล้ว วันนี้อาจารย์ได้สอน
บทที่2 เรื่องทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์


     ฟรอยด์ เป็นชาวออสเตเรียมีความเชื่อด้านบุคลิกภาพ การวิเคราะห์ของฟรอยด์ด้านบุคลิกภาพ การตอบสนองขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณมี 3 ประเภท ได้แก่  แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)
โครงสร้างของฟรอยด์
อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
  อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
  ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม
  ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –18  เดือน
  ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัย 2 – 3 ปี
  ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะพัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี
  ขั้นที่ 4 ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี
  ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศ (Genital Stage) เป็นระยะสนใจเพศตรงข้าม วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน


เกี่ยวกับด้านสังคมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเด็กปฐมวัยพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวพร้อมเลียนแบบคนรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจและไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสัน
ได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุทำให้เป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”

ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล


อาร์โนลด์ กีเซล
        (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มี
ความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เชื่อว่าเด็กเกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาซึ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้นการฝึกฝนหรือลักษณะใดก็ตามอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” แต่จะเกี่ยงข้องกับอายุและช่วงวัยเท่านั้น
ขั้นพัฒนาการของกีเซล
  1. ทิศทางของการพัฒนาการ (development direction Cephalocaudal - Proximal distal )
  2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน (reciprocal interweaving)
  3. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน (functional asymmetry)
  4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ (individuating maturation)

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์

 ฌอง เพียเจท์
 (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา
ได้อธิบายถึงโครงส้างความคิดเราคนเราที่แสดงออกได้ 2 อย่างคือ
Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ๆ  เข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จัก
  Accommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
  ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ
  - ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี
  - ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี
สรุป เด็กจะเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว เด็กจะเรียนรู้ได้ในรูปนาม
ธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก
       (Lowrence Kohlberg) เป็น
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventionalวัย 2 – 10 ปี
  มี 2 ระยะ
  ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
  ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์



เสนอแนวคิดและการใช้เหตุผล
พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้
  1. การให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
  2. การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
  3. พัฒนาการทางความคิด
  4. ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
  5. ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
  6. การพัฒนาทางความคิด
พัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของมนุษย์
แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้
  1. Enactive Stage
  2. Iconic representation Stage
  3. Symbolic representation stage
ลำดับขั้นการสอนอย่างมีเหตุผล
ขั้นที่ 1 เด็๋กจะเรียนรุ้ได้ต้องสัมผัสก่อน
ขั้นที่ 2 การสอนควรเน้นให้เด็กเกิดการพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้รับรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ขันที่ 3 จัดให้มีการอภิปรายระหว่างเด็กในกลุ่มที่เรียนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เนื้อหาที่เรียนเพื่อให้เด็กใช้ภาษาและเกิดการพัฒนาขั้นรูปธรรม

 ช่วงท้ายคาบสัปดาห์อาจารย์ก็สั่งงานและเปิดวิดีโอเกี่ยวกับนักทฤษฎีให้ดูและเรื่องฟ้ามีตาตอน ลูกเราน่ารักที่สุดเลย ทำให้ได้เห็นมุมมองการเลี้ยงลูกของละครเรื่องนี้ว่าเป็นยังไง และให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ว่าเราควรทำแบบไหน
  


การประเมิน
 ประเมินตนเอง ทำให้ทราบถึงแนวความคิดของนักทฤษฎีที่อาจารย์สอนมา
 ประเมินเพื่อน เพื่อนๆได้ความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดของนักทฤษฎี
 ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีความพร้อมในการเตรียมสอนมาก

ครั้งที่ 2 วันที่ 16 มกราคม 2561


วันนี้อาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ 
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง6ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็นช่างสงสัย ช่างซักถาม แต่หลักสูตร 2542 จะอายุตั้งแต่ช่วงแรกเกิดถึง5 ปี 6 เดือน 29 วัน
     ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
จำต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูและเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยด้วยการจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยใหเด็กได้พัฒนาตามศักยภาพ
     ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1. จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2. ไม่รู้ว่าความคิดของตัวเองแตกต่างไปจากคนอื่น
3. ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก
4. มีความอยากรู้อยากเห็น
5. มีความริเริ่มสร้างสรรค์
6. มีอารมณ์รุนแรง อิจฉา
7. ต้องการความยอมรับจากผู้ใหญ่
    ความหมายของพัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตั้งแต่ นอน พลิกคว่ำ คืบ ตั้งไข่ เดิน วิ่ง เมื่อเราทำได้เองแล้วต่อให้เราไม่ได้ทำนานๆก็สามารถทำได้เหมือนเดิมแต่จะไม่ค่อยคล่องแคล่วนัก
    ลักษณะของพัฒนาการ
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิดจนตาย
เริ่มจากบนลงล่างคือจากหัวลงไปที่เท้า
เริ่มจากแกนกลางของลำตัว (นิ้วคือ อวัยวะที่มีพัฒนาการช้าที่สุดของมนุษย์ หรือ ของเด็กปฐมวัย)
พัฒนากาารของมนุษย์จะเปลี่ยนไปตามแผน
พัฒนาการจะไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่ 2 อย่าง คือ ทางพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม
เด็กช่วงแรกๆจะมองเห็นแค่สีขาวกับสีดำ
ท้ายคาบอาจารย์ก็ได้เปิดคลิปวิดีโอการปฏิสนธิของมนุษย์ให้ดูว่าเด็กมีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นเป็นมาอย่างไรจนคลอดออกมาเป้นทารก

คลิปวิดีโอที่ 2 คือ พัฒนาการของเด็กหลังคลอดแต่ละเดือนว่าเด็กมีพัฒนาการด้านไหนบ้าง




และให้ทำใบงาน แบบทดสอบก่อนเรียน




การประเมิน
ประเมินตัวเอง ได้รุ้เนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน เพื่อนได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างเข้าใจ




ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มกราคม 2561



     วันนี้เป็นวันแรกที่เปิดภาคเรียน สำหรับคาบนี้อาจารย์ก็พูดถึงเนื้อหาการเรียนของวิชานี้อย่างคร่าวๆ ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง

งานในเทอมนี้
-หาบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
-นักศึกษาทุกคนต้องเก็บชั่วโมง คือการไปรอรับเด็กที่ร.ร.สาธิต เวลา 7:30-8:45 น. เก็บคนละ10ชั่วโมงภายในเวลา1เดือน
-งานต่างๆอย่างอื่นตามที่ได้รับหมอบหมายภายในคาบ



การประเมิน
 อาจารย์ : อาจารย์พูดและบอกรายละเอียดได้อย่างชัดเจน
 เพื่อน : ทุกคนมีความสนใจและตั้งใจฟังเป็นอย่างมาก
 ตัวเอง : ตั้งใจและสนใจในสิ่งอาจารย์บอก




ครั้งที่ 15 วันที่ 24 เมษายน 2561

วันนี้พิเศษกว่าวันไหนๆ เพราะอาจารย์ให้จับกลุ่มทำอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ทำอาหารสำหรับเด็ก โดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนม...