วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 15 วันที่ 24 เมษายน 2561






วันนี้พิเศษกว่าวันไหนๆ เพราะอาจารย์ให้จับกลุ่มทำอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ทำอาหารสำหรับเด็ก โดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนมหวาน กลุ่มของเราเลือกทำ ข้าวผัด กับ กล้วยบวชชี

วัตถุดิบ มีดังนี้ 
ข้าวผัด 
-ข้าวสวย        -ข้าวโพด    
-หมูสับ           -แครอท
-ไส้กรอก        -ไข่ไก่  
กล้วยบวชชี
-กล้วย           -น้ำตาล     
-กะทิ             -น้ำเปล่า



                                    



วันนี้อาจารย์ก็ได้ลงมือทำอาหารด้วย นั่นคือ "บัวลอย"







จบแล้วสำหรับเทอมนี้ บ้ายบายยยย😊





ครั้งที่ 14 วันที่ 17 เมษายน 2561





" อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก "


             ✦ อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิตทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรกและใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา
               ✦อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้



หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ

อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น

อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย




อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆให้วิตามินและเกลือแร่




อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น


ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก
1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร
2. ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม
3. อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้งแยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ประกอบอาหารก็ต้องสะอาดด้วย
4. อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลงไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้
5. อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส
6. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้
7. สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด
8. ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่างหรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา
9. ให้กินน้ำแกงจืดผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผักแต่ต้องไม่เค็ม
10. เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าวหรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก
1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรกเพราะจะทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่
2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้
3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อยๆ
4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็กๆป้อนเพราะต้องการให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน
5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิดเพื่อดูการยอมรับของเด็กทารกและเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่
6. ควรจัดให้กินอาหารของเหลวก่อน
7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์และช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก
8.เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบดเพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว
9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ๆ
10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันถัดไป
11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด

การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก


1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว

2.อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วอิ่มใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลยและก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียวควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย




ครั้งที่ 13 วันที่ 10 เมษายน 2561



" การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย "


ความหมายของคำว่า " จริยธรรม "" จริยธรรม " คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร" จริยธรรม "  คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ


ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
         เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมๆกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุโดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนเกณฑ์  ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือระดับก่อนกฎเกณฑ์เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
          นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
            นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบ ทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมและทำหน้าที่ในการระงับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์


คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ 

อันได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ

1.ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
2.ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
3.ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
4.มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
5.สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
6.สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
7.สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
8.มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน  



วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 12 วันที่ 3 เมษายน 2561




วันนี้อาจารย์ได้พานักศึกษาไปเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ๑๒๕ ปี อัยการไทย 
ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ



ได้เข้ารับฟังการเสวนา




ร่วมชมโชว์แสดงของน้องหมา 


ครั้งที่ 11 วันที่ 27 มีนาคม 2561




    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้นำเสนอวิดีโอที่แต่ละกลุ่มได้ไปสัมภาษณ์ตามโรงเรียนที่เลือก
โดยสัมภาษณ์ครูปฐมวัย ในเรื่องบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
โดยที่อาจารย์จะกำหนดหัวข้อมาให้ 5 หัวข้อ ดังนี้
1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง
2.ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดูการดูแลสุขภาพอนามัยโภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร
3.ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร
4.ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้างอย่างไร
5.ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร

โดยกลุ่มของพวกเราได้ไปสัมภาษณ์ที่โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า



ครั้งที่ 10 วันที่ 20 มีนาคม 2561







วันนี้เรียนเรื่อง 
"แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้"
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมภายในบุคคล : การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร  ระบบขับถ่าย  ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก :  สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม : เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคมทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกันกระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้นจะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน : เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน : ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
- สนาม
- สวนในโรงเรียน
การจัดสภาพแวดล้อม
1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย สะอาด ดึงดูดใจ และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น
2. พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆหรือกลุ่มใหญ่
3. พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆอาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล
4. สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว ( ก้านมะลิ ) สีฟ้า ( เทอร์ควอยช์ )  สีเหลือง ( อ่อน ) เป็นต้น
5. สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กมีปริมาณเพียงพอ มีหลากหลาย และมีความทนทาน
6. จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน
7. ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
8. สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะ สนามหญ้า
9. ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้
10. พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท
11. ห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ
12. สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
13. เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย
14. ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ
15. สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง
16. สถานที่รับประทานอาหาร ตัวอาคารไม่อับทึบ ไม่มีหยาบไย่ มีแสงสว่างเพียงพอ พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง








ครั้งที่9 วันที่ 13 มีนาคม 2561


วันนี้เป็นการสอบกลางภาคของภาคเรียนที่2 รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



อาจารย์ให้เตรียมตัวก่อนสอบ5นาที ต่อจากนั้นก็ได้นั่งแยกกันเพื่อทำการสอบ




ครั้งที่ 8 วันที่ 6 มีนาคม 2561




วันนี้เรียนเรื่อง "การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย"
     
 "การอบรมเลี้ยงดูเด็ก" หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็ก 
ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
         ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก : ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่นั่นเอง เด็กแต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อแม่ต่างกัน เช่น ลูกสาวมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อมากกว่าแม่ หรือลูกชายมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อเป็นต้น
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อาจจัดได้ 4 วิธี ดังนี้
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
2. การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก
3. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
4. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป
     การดูแลเด็กทารก : นับตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆของชีวิตในทุกๆด้านเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรใช้ระยะเวลานี้เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการจำเป็นต่างๆเพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
     การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน : เด็กวัยตอนต้นมีอายุ 2-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตเพราะเป็นวัยของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตเป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญ
การเลียนแบบของเด็กวัยก่อนเรียนแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ
1. การเรียนแบบบทบาททางเพศ
2. การเลียนแบบส่วนตัวที่ไม่ใช่บทบาททางเพศ
3. การเลียนแบบกับการพัฒนาศีลธรรม
ปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน
1. ปัญหาด้านสุขภาพ  สุขภาพจิต  สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัวแม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กอย่างทารุณ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม
2. ปัญหาด้านโภชนาการ  สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ แม่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร
3. ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน สาเหตุของปัญหา คือ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็ก
4. ปัญหาด้านสังคม  วัฒนธรรม และจริยธรรม สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ เด็กเป็นบุตรนอกสมรสและเกิดจากการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษาและขาดความรับผิดชอบครอบครัวแตกแยก

 ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ
1) เด็กชายและเด็กหญิง จะต้องเห็นแบบอย่างของผู้ใหญ่ชาย 
2)  พ่อต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกชาย
3) เด็กหญิงจะได้รู้จักบทบาทของผู้ชาย 
4) พ่ออาจช่วยปลูกฝังลักษณะทั่วไปของชายให้แก่ลูก  คือ ความเข้มแข็ง บึกบึน
5) พ่อที่สนิทสนมกับลูกชาย มีโอกาสที่จะพูดคุยกันอย่างลูกผู้ชาย
6) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกผู้ชายกับพ่อ ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้วิธี ผูกมิตรไมตรีกับชายอื่นที่เขาต้องการสมาคมด้วย
7) ความเข้มแข็ง เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้นำในเรื่องต่างๆ จะช่วยให้ลูกชายเกิดศรัทธา และอยากเลียนแบบ
ความจำเป็นที่ต้องมีแม่
1) แม่ต้องคอยดูแลลูกให้ปฏิบัติตามแบบแผน
2) ช่วยปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี
3) สอนให้รักษาความสะอาด
4) คอยฝึกฝนกิริยามารยาทที่ดีงาม
5) สอนให้ลูกเก็บรักษาสมบัติ  ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6) สอนศีลธรรม
7) เห็นแบบอย่างความเป็นผู้หญิงจากแม่
8) ลูกสาวจะได้เรียนรู้สิ่งใดมีค่าสำหรับผู้หญิงจากแม่ และต้องพยายามหามาให้เป็นของตน 
9) ช่วยให้ลูกสาวพัฒนาทางอารมณ์ให้ความรู้เรื่องเพศ ตามวัย


ครั้งที่ 15 วันที่ 24 เมษายน 2561

วันนี้พิเศษกว่าวันไหนๆ เพราะอาจารย์ให้จับกลุ่มทำอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ทำอาหารสำหรับเด็ก โดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนม...