" อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก
"
✦ อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิตทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรกและใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา
✦อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา
เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้
ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง
มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้
หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารเป็นหมู่ได้ 5
หมู่ ได้แก่
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง
ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล
ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆให้วิตามิน
เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์
ให้พลังงานและความอบอุ่น
ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก
1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร
2. ใช้ภาชนะที่สะอาด
โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม
3. อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด
ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด
ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้งแยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ประกอบอาหารก็ต้องสะอาดด้วย
4. อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลงไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก
หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้
5. อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ
ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน
เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส
6. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกและ
แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้
7. สับหมู
หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด
8. ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่างหรือนึ่ง
หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา
9. ให้กินน้ำแกงจืดผสมกับข้าว
โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผักแต่ต้องไม่เค็ม
10. เด็กที่มีอายุ
7
เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้
อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าวหรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม
ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก
1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ
4
เดือนแรกเพราะจะทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่
2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย
ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้
3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง
ทีละน้อยๆ
4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็กๆป้อนเพราะต้องการให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน
5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิดเพื่อดูการยอมรับของเด็กทารกและเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่
6. ควรจัดให้กินอาหารของเหลวก่อน
7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์และช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก
8.เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น
ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบดเพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว
9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ๆ
10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ
ให้พยายามลองใหม่วันถัดไป
11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด
การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก
1. อาหารหลัก
เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก
เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก
ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว
2.อาหารว่าง
เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน
แต่เมื่อเด็กกินแล้วอิ่มใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น.
เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลยและก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น.
เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างไปก่อนกินอาหารเย็น
ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย
3. อาหารหวาน
เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก
ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียวควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น