วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่6 วันที่13 กุมภาพันธ์ 2561





บทที่5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

1.กินอาหารดี ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับเพียงพอ
2.กระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านการลงมือทำ
3.เล่านิทาน จัดหาหนังสือนิทานที่หลากหลาย
4.เล่นสีและทำงานศิลปะ
5.ทำกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว
6.เล่นกีฬาและออกกำลังกาย
7.ทำอาหารร่วมกัน
8.ปลูกผักสวนครัว
9.ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ
10.เล่นบทบาทสมมุติ
11.เล่นแบบพัฒนาความคิด
12.ฝึกลูกทำงานบ้านและรับผิดชอบหน้าที่ตนเอง
13.เปิดโอกาสให้ลูกได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง
14.สอนลูกให้มีจิตสาธารณะ
15.ให้การสนับสนุนในสิ่งที่ลูกสนใจ
16.หลีกเลี่ยงการใช้สื่อออนไลน์และดิจิตัลเมื่อลูกอยู่ข้างๆ
17.หลีกเลี่ยงการทำโทษลูกด้วยการใช้อารมณ์
18.สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้สงบสุข
19.พูดคุยถึงอารมณ์และความรู้สึกกัน
20. กอด หอม และชมเชย


นำเสนอ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย


ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)



                บรูเนอร์ (Bruner, 1956)   เป็นนักจิตวิทยาในยุคใหม่  ชาวอเมริกันคนแรกที่สืบสานความคิดของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร ควรศึกษาตัวเด็กในชั้นเรียนไม่ควรใช้หนูและนกพิราบ ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ คือ แรงจูงใจ (Motivation) โครงสร้าง (Structure) ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence) และการเสริมแรง (Reinforcement)
               
                     สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นด้วยกัน
    ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
                                1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
                                2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย
                                3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอด
    เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น

แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
 บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ

1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว

2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน

4  การเสริมแรงของผู้เรียน

         สรุป บรูเนอร์มีความเห็นว่า  คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ  โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  acting, imaging และ symbolizing   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต  มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครั้งที่ 15 วันที่ 24 เมษายน 2561

วันนี้พิเศษกว่าวันไหนๆ เพราะอาจารย์ให้จับกลุ่มทำอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ทำอาหารสำหรับเด็ก โดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนม...